คลังเก็บรายเดือน: มีนาคม 2011

VPS ของดีราคาถูกสำหรับคนทำเว็บ

     วันนี้อยากจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Server กันซะหน่อยเพราะช่วงนี้ผมเข้าโรงงานไปหลายวันเพื่อทำ Server ให้กับโรงงานลูกค้าแล้วเว็บไซด์ผมก็กำลังจะย้ายไปใช้ VPS ที่ว่านี้ด้วยล่ะครับเนื่องจากอยากจะลดต้นทุนอยู่ด้วย ดังนั้นเรามารู้จักกับเจ้า VPS กันก่อนดีกว่า

     VPS ย่อมาจากคำว่า Virtual Private Server หรือเครื่อง Server เสมือนนั้นคือเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับให้เครื่อง Server คุณภาพสูง 1 เครื่องสามารถสร้าง Server จำลองภายในเครื่องตัวเองได้หลายๆเครื่อง ซึ่งเครื่องจำลองพวกนี้ก็คือ VPS ครับ ทำให้เราสามารถประหยัดทรัพยากร และค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการวางเครื่องจริงๆ เพียงแค่เราลงทุนเริ่มต้นด้วยการซื้อเครื่อง Server คุณภาพสูงกว่าปกติมาเพียง 1 หรือ 2 เครื่อง จากนั้นก็ติดตั้ง Software ควบคุมเครื่องจำลองเหล่านี้ เท่านี้ก็เหมือนกับว่าเราวางเครื่องจริงๆเพียง 1-2 เครื่องแต่เราได้เครื่องจำลองมาใช้ได้มากกว่า 10 เครื่องเลยครับ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียก็มีแค่ค่าวางเครื่องเพียง 2 เครื่องกับค่า IP หรือ Port แลน แค่นั้นครับ ถ้าเทียบกับเอาเครื่องจริงๆมาวางถึง 10 เครื่องอาจะต้องใช้เงินที่สูงกว่านี้แถมการควบคุมดูแลก็อาจจะยากกว่าด้วยครับ

เปรียบเทียบข้อดี และ ข้อเสียของ VPS
ข้อดี

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ง่ายต่อการดูแลรักษา
  • สามารถใช้งานเครื่อง Server ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ข้อเสีย

  • หากเกิดความเสียหายขึ้นมาอาจทำให้ระบบทั้งหมดไม่ทำงาน

     VPS คือเทคโนโลยีที่น่าจะทำให้สามารถใช้งาน Server แบบส่วนตัวได้ในราคาถูกและประสิทธิภาพเทียบเท่าการวางเครื่องจริงๆ ดังนั้นหากใครสนใจต้องการจะใช้เจ้า VPS ทุกวันนี้ก็มีให้เลือกเยอะครับ ราคาตั้งแต่ 800 – หลายพันบาทต่อเดือนครับ แล้วแต่คุณภาพครับ แต่ถ้าเป็นของต่างประเทศจะถูกกว่ามากเพียง 400 – 1000 บาทเองต่อเดือนครับ หากสนใจแวะเข้าไปค้นหาใน Google ได้เลยครับ

Ubuntu ระบบปฏิบัติการฟรี สำหรับทุกคน

     วันนี้ผมได้ลงระบบปฏิบัติการเครื่อง โน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าสุดๆของผมที่เก็บไว้นานแล้วเพื่อจะเอามาทำงานนิดหน่อยน่าจะได้อยู่ และระบบปฏิบัติการที่ผมเลือกก็ไม่ใช่ Microsoft Windows แต่เป็นระบบปฏิบัติการ Ubuntu หรือที่ทั่วไปจะเรียกเหมารวมระบบปฏิบัติการฟรีๆเหล่านี้ว่า linux เรามาทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการนี้กัน
     Ubuntu เป็นระบบปฏิบัติการแบบ ลีนุกดิสทริบิวชั่น โดยพัฒนาต่อมาจากระบบปฏิบัติการดีเบียน ได้รับการควบคุมโดยบริษัท Canonical และผู้ก่อตั้งคือนาย มาร์ค ชัทเทิ่ลเวิร์ธ โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้ทุกๆคนสามารถใช้ระบบปฏิบัติการ และซอฟแวร์ที่มีประสิทธิภาพได้ฟรีๆ
     Ubuntu เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2004 โดยแยกตัวออกมาจากกลุ่ม Debian และได้มีนโยบายออกเวอร์ชั่นใหม่ทุกๆ 6 เดือนพร้อมทั้งยังใช้ Gnome เวอร์ชั่นล่าสุดด้วย ทำให้ระบบ Ubuntu มีหน้าตาสวยงามและใช้งานได้ง่าย ที่สำคัญระบบปฏิบัติการ Ubuntu ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานได้ฟรีๆมากที่สุดด้วย
     Ubuntu สามารถใช้เป็นระบบหลักของเครื่องได้ โดยมีทั้งโปรแกรม มัลติมีเดีย เช่น Rhytembox หรือแม่แต่โปรแกรมดูหนังสารพัดไฟล์อย่าง VLC Media Player หรือถ้าใครต้องการทำรูปภาพก็มีโปรแกรมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Photoshop คือ GIMP ส่วนโปรแกรมเอกสาร ก็มี Open Office ที่สามารถใช้งานได้ไม่น้อยกว่า Microsoft Office เลย เท่านี้เราก็สามารถใช้งาน Ubuntu เป็นระบบหลักของเครื่องเราได้แล้ว ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่สามารถทำให้ได้เทียบเท่ากับ Windows แต่ Ubuntu ก็เป็นระบบปฏิบัติการฟรีที่ให้ทุกคนสามารถโหลดไปติดตั้งใช้งานได้สะดวกที่สุด ถ้าเกิดใครสนใจเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการตัวนี้ เราก็มีกลุ่มชุมชน Ubuntu ในประเทศไทยสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซด์ ubuntuclub.com ครับ

ภัยพิบัติ

     หายไปนานเลยครับ เนื่องจากงานเยอะมากครับช่วงนี้ยุ่งสุดๆจนไม่สามารถปลีกตัวมาเขียนบทความใดๆเพิ่มเติมได้ครับ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ ทุกๆคนคงจะทราบข่าวที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ ตั้งแต่แผ่นดินไหว ในชิลี ในประเทศจีน นิวซีแลนด์ และล่าสุดที่หนักที่สุดก็คือที่ญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับ 9 ริกเตอร์ ทำให้อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก มิหนำซ้ำยังมีคลื่นยักษ์ สึนามิ ซ้ำอีกระลอกถือว่าอาจจะเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าตอนที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอินโดนีเซียเมื่อปี 2547 และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งคราวนั้นมีผู้เสียชีวิตนับแสนรายเลยทีเดียวครับ

     สำหรับภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นมานั้นไม่มีใครอาจะทราบได้ว่ามันจะเกิดตอนไหน เมื่อไหร่ ก็ได้แต่จำเป็นต้องมีการป้องกัน และเตือนภัยที่ดี ทั้งยังต้องมีสติที่จะรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ด้วย ดังที่เห้นในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนส่วนใหญ๋พบเจอกับเหตุการในครั้งนี้มีความเข้มแข็งมาก และมีความรู้พอที่จะรับมือเพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เมื่อลองมองย้อนกลับมาที่ประเทศเราดูบ้าง ถ้าเกิดเหตุการณ์ประมาณนี้อีก เราจะรับมือได้หรือไม่ ?

     สุดท้ายนี้ก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่ญี่ปุ่นด้วยนะครับ ถึงแม้จะช่วยอะไรไม่ได้ก็ขอส่งกำลังใจให้กับคนญี่ปุ่นมีกำลังใจที่จะต่อสู้ และฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาเหมือนเดิมครับ